TOP

ห้องเรียนในอนาคต

          จากประสบการณ์ในการไปเป็นวิทยากรให้กับศึกษานิเทศก์ในเขตพื้นที่การศึกษาภาคเหนือ เรื่องการนำ Tablet ไปใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอนกับนักเรียนชั้น ป.1 คำถามแรกของศึกษานิเทศก์และครูก็คือ จะใช้ Tablet มาแทนครูได้อย่างไร ผมจึงอยากให้ทุกคนได้ดู Clip ทั้ง 2 ด้านล่างนี้ก่อนนะครับ 

 Watch your day in 2020

แล้วเราจะนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการช่วยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างไร?

         เมื่อคุณได้ดู Clip นี้จนจบคุณจะรู้ว่า เทคโนโลยีไม่ได้เข้ามาแทนครูแต่อย่างใด เพราะฉะนั้นอย่าคิดว่า เมื่อมีเทคโนโลยีอะไรใหม่ แล้วเราครูจะหมดความสำคัญ จริงๆ แล้วเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้ครูมีเครื่องมือที่ทันสมัย ดึงดูดความสนใจผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ช่วยให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของเราง่ายขึ้น เช่นภาพบางภาพสามารถใช้แทนคำพูดของครูที่จะต้องบรรยายได้มากมาย ครูจะมีเวลาเพิ่มขึ้นในการจัดกิจกรรมเสริม เพื่อความเข้าใจของนักเรียน อย่างเช่นการสอนเรื่องระบบสุริยะ ถ้าสอนแบบเดิมๆ ก็อาจจะมีแค่รูปในหนังสือเรียนให้นักเรียนได้ดู ว่ารูปร่างของระบบสุริยะเป็นอย่างไร  แต่ถ้าในวันหนึ่ง เรามีเทคโนโลยีที่สามารถแสดงภาพให้เราเห็นระบบสุริยะอยู่ล้อมรอบตัวเรา สามารถดึงดาวเคราะห์เข้ามาดู ดึงเปลือกดาวเคราะห์แต่ชั้นออกจนมองเห็นภายในทีละดวง สามารถทดลองย้ายวงโคจรของดาว แล้วสังเกตสิ่งที่จะเกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้ผมเชื่อว่าจะสามารถทำได้ในอนาคตอันใกล้ ขอเพียงครูทุกคนเปิดใจรับ และหยิบมาใช้ประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ได้ แล้วครูจะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการจัดสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ เปลี่ยนจากผู้สอน เป็นผู้ชี้แนะ และคอยตอบคำถามของนักเรียน  นักเรียนของท่านเป็นเด็กยุคใหม่ อย่ามัวแต่ใช้วิธีการเดิมๆ มากจนเกินไป อย่าคิดว่าสอนแบบเดิมน่ะดีที่สุดแล้ว ถ้ายังไม่เคยลองเปลี่ยนวิธีการสอน

เทคโนโลยีเหล่านี้ใกล้เข้ามาแล้ว…นักเรียนพร้อมเรียนรู้ด้วยวิธีการใหม่ๆแล้ว…แล้วท่านล่ะพร้อมหรือยัง

ขอบคุณ
ภาพประกอบจากภาพยนตร์เรื่อง PROMETHEUS
ClipVDO จาก Youtube ของ Ahmed El-Eraky และ channelintel

Read More
TOP

เฉลยแบบทดสอบเรื่อง งาน และพลังงาน

 

Download เอกสารประกอบ

Read More
TOP

ไมโครมิเตอร์ (Micrometer)

3355010k_eps

         เป็นเครื่องมือวัดความยาวอีกชนิดหนึ่งที่สามารถวัดได้ละเอียดกว่าเวอร์เนียร์ใช้วัดชิ้นงานที่มีความยาวน้อย ๆ เช่น ความหนาของกระดาษ เส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นลวดขนาดเล็ก ๆ เป็นต้น

ส่วนประกอบที่สำคัญของไมโครมิเตอร์มีดังนี้

microdesc

โครง A มีลักษณะคล้ายครึ่งวงกลม
ปากวัด B เป็นโลหะผิวเรียบ ใช้สำหรับจับวัตถุหรือชิ้นงานที่ต้องการวัด
สเกลหลัก C เป็นสเกลที่อยู่นิ่งกับที่มีขีดสเกล 2 แถว ขีดสเกลแต่ละขีดในแต่ละแถวห่างกัน 1mm ส่วนขีดสเกวแถวบนและขีดสเกลแถวล่างที่อยู่ถัดกันจะห่างกัน 0.5 mm
สเกลวงกลม D เป็นสเกลที่เคลื่อนที่ได้โดยการหมุนปลอก E มีทั้งหมด 50 ช่อง เมื่อหมุนสเกลวงกลม D ไปครบ 1 รอบ จะได้ความยาว 0.5 mm ดังนั้น 1 ช่องของสเกลวงกลม จึงมีค่า 0.5mm/50 หรือ 0.01mm
ปลอก E ใช้หมุนปรับความห่างของปากวัด B ให้พอเหมาะกับขนาดของชิ้นงาน
ปุ่ม F ใช้หมุนเพื่อเลื่อนปากวัด B ให้สัมผัสชิ้นงาน เมื่อสัมผัสพอดีจะมีเสียงกริ๊กเบา ๆ ให้หยุดหมุน
คันโยก G เมื่อโยกไปทางซ้าย ปลอก E และปุ่ม F จะถูกล็อคไว้ และสเกลวงกลม D จะถูกตรึงกับที่

การบันทึกค่าการวัด

ค่าจากการวัดจะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
* ค่าที่อ่านได้จากสเกลหลัก
* ค่าที่อ่านได้จากสเกลวงกลม
นำค่าทั้งสองมาบวกกัน จะเป็นค่าที่อ่านได้

microsave

          การอ่านค่าบนสเกลหลัก ต้องดูว่าขอบของสเกลวงกลมอยู่ที่ตำแหน่งใดบนสเกลหลัก เช่น ในรูป 2 ขอบของสเกลวงกลมอยู่เลยขีด 7.5 mm แต่ไม่ถึง 8.0 mm ดังนั้นค่าที่อ่านได้จากสเกลหลักคือ 7.5 mm ส่วนเศษที่เกิน 7.5 mm แต่ไม่ถึง 8.0 mm จะอ่านได้จากสเกลวงกลมโดยดูว่าขีดใดบนสเกลวงกลมตรงกับเส้นแนวนอนของสเกลหลัก จากรูป 2 จะเห็นว่า ขีดที่ 35 ตรงกับเส้นแนวนอนพอดี ดังนั้นค่าที่อ่านได้จากสเกลวงกลม ก็คือ 35×0.010 mm เท่ากับ 0.350 mm นั่นคือ ค่าที่อ่านได้จากไมโครมิเตอร์ คือ 7.5 mm + 0.350 mm เท่ากับ 7.850 mm

Read More